ศาลเจ้าหลัก หรือ โฮนเด็น (Honden)

เป็นชื่อเรียกรวมของหอแห่งความเมตตา (Hall of Compassion)
ประตูจีน (Chinese Gate) และโฮนเด็น

ศาลเจ้าหลักถูกทำลายไประหว่างสงครามและได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์โดยท่านมาเอะดะ โทชิซึเนะ ในปี ค.ศ.
1642 อาคารศาลเจ้านี้มีรูปทรงพิศดาร สร้างติดกับหน้าผาหินและไม่มีหลังคาทางด้านที่ติดกับหน้าผา ไม้ที่ใช้ใน
การก่อสร้างเป็นไม้เนื้อแข็งนำเข้าจากต่างประเทศ หลังคามุงแผ่นไม้และมีโหนกหน้าจั่วตรงกลางทางด้านหน้า
วงกบหน้าต่างด้านในทั้งหมดเป็นผลงานแกะสลักไม้ของ ยามากามิ เซ็นเอะมง (Yamagami Zenemon) สถาปนิคผู้
มีชื่อเสียงโด่งดังในประวัติศาสตร์ของจังหวัดอิชิคาวะและมีผลงานเป็นผู้คุมช่างไม้ในการก่อสร้างมรดกแห่งชาติ “วัด
ซุยริวจิ” (Zuiryuji Temple) แห่งเมืองทาคาโอะคะ จังหวัดโทะยามะ
ศาลเจ้าหลักโฮนเด็นได้ขึ้นทะเบียนมรดกแห่งชาติในปี ค.ศ.1941 ถูกรื้อและบูรณะในปี ค.ศ.1949 และได้รับการ
บันทึกเป็นทรัพย์สินที่มีค่าทางด้านวัฒนธรรมภายใต้กฎหมายปกป้องทรัพย์สินทางด้านวัฒนธรรม (Cultural
Properties Protection Law) ในปี ค.ศ.1950 ถ้ำแห่งพระครรภ์ (Iwaya-tainai-kuguri) ตั้งอยู่ภายในศาลเจ้าแห่งนี้
พร้อมกับเจ้าแม่กวนอิม 11 หน้า 1,000 มือของญี่ปุ่น

ความหมายของถ้ำแห่งพระครรภ์ (Iwaya-tainai-kuguri)

ในสมัยโบราณ​คนญี่ปุ่นเรียกถ้ำว่า บ้านหิน (Iwaya) เพราะถ้ำเหล่านี้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย นอกจากนั้นถ้ำยังเป็นสถานที่
ที่เกี่ยวข้องกับความตายและพิธีศพ ดังนั้นถ้ำจึงเปรียบเสมือนทางเข้าสู่อีกโลกหนึ่งและเปรียบเหมือนครรภ์ของ
มารดาด้วย ว่ากันว่าดวงวิญญานจะหลอมรวมภายในถ้ำและเกิดใหม่เป็นมนุษย์ ณ ที่แห่งนี้ และเมื่อมนุษย์สิ้นใจแล้วก็
จะกลับมาและเกิดใหม่ภายในถ้ำแห่งนี้เป็นวัฎจักรไป เราสามารถสัมผัสประสบการณ์ของวัฎจักรนี้ได้ด้วยการมา
เยือนถ้ำแห่งพระครรภ์ (Iwaya-tainai-kuguri) แห่งนี้

  • โต๊ะหน้าทางเข้าโถงแห่งความเมตตา ไทฮิคาคุ (Hall of Compassion)
  • ด้านในของถ้ำแห่งพระครรภ์
    (Iwaya-tainai-kuguri)
  • ศาลเจ้าหลักโฮนเด็น (Honden)
    ซึ่งตั้งอยู่บนพื่นที่ยกระดับ

อุโบสถกลาง คนโดะ เคโอะเด็น (Kondo Keo-den)

สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

ในปี ค.ศ.1990 อุโบสถกลางถูกสร้างขึ้นมาใหม่ หลังจากถูกไฟเผาในสงครามระหว่างราชวงศ์เหนือและใต้เมื่อ
650 ปีก่อนหน้านั้น อาคารอุโบสถสร้างจากไม้สนหอมฮิโนะคิ (Hinoki cypress wood) ทั้งหลัง มีลักษณะทาง
สถาปัตยกรรมตามแบบของยุคคามะคุระ (Kamakura ค.ศ.1185-1333) อุโบสถนี้ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม
ทางศาสนาพุทธทั้งหมดของวัดแห่งนี้
เจ้าแม่กวนอิม 11 หน้า 1,000 มือ (ทำจากไม้สนหอมฮิโนะคิ สูงถึง 7.8 เมตร) เป็นผลงานของ มัตซึฮิสะ โฮวริน
(Matsuhisa Hourin) นักปั้นผลงานทางศาสนาในเกียวโต นอกจากนั้นรูปปั้นของพระไทโช (Taisho) ผู้ซึ่งได้รับการ
นับถือเป็นศูนย์กลางของฮะคุซัง และรูปปั้นของจักรพรรดิ์ คะซัง (Kazan) ก็ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถแห่งนี้ด้วย ผนัง
ของอุโบสถถูกประดับประดาไปด้วยผลงานศิลปะของศิลปินท้องถิ่น พรรณาถึงความศรัทธาในภูเขาฮะคุซังซึ่ง
เป็นการผสมผสานระหว่างศาสนาพุทธและลัทธิชินโตอย่างลงตัว

สถาปัตยกรรมที่สั่งสมว้ฒนธรรมอันยาวนาน

สถาปัตยกรรมที่สั่งสมว้ฒนธรรมอันยาวนาน

วัดนาทะเดะระเป็นที่ตั้งของธรรมชาติอันสวยงามมากมาย และยังประกอบไปด้วยอาคารหลากหลายขนาด รวมถึง
ศาลเจ้าหลักโฮนเด็น อุโบสถกลางคนโดะ หอนาฬิกาโชโร่ และเจดีย์สามชั้น สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ช่วยหล่อหลอมให้
ผู้คนที่มาเยือนวัดมีความสงบ
อาคารสิ่งปลูกสร้างทั้ง 7 หลังในบริเวณวัดได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของ
ประเทศ และสถานที่สองแห่งในวัดถูกกำหนดให้เป็นสถานที่ที่มีความสวยงามทางภูมิทัศน์ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุก
ท่านจะได้ดื่มด่ำกับความสวยงามของสถาปัตยกรรมและสมบัติทางประวัติศาสตร์ของวัดแห่งนี้ รวมทั้งยังได้สัมผัส
ถึงกาลเวลาและการสั่งสมวัฒนธรรมอันยาวนาน

  • โกะมะโด(หอโฮมะ ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของญี่ปุ่น)
  • หอสังเกตการณ์ชินจูโด
  • อุโบสถกลางคนโดะ เคโอะเด็น
  • หอนาฬิกาโชโร่ (ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของญี่ปุ่น)
  • โถงแห่งความเมตตาไดฮิคะคุ (Daihi-kaku) ประตูจีน (Karamon) และศาลเจ้าหลักโฮนเด็น (ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของญี่ปุ่น)
  • ฟุมงคะคุ (Fumon-kaku) สถานที่ประดิษฐานพระสูตร
  • รูปปั้นเทพเจ้าฟูจิน (เจ้าแห่งลม)
    และเทพเจ้าไรจิน (เจ้าแห่งสายฟ้า
  • ดาบฟูจินมารุ
  • ฉากพับได้และรูปภาพเหตุการณ์สงครามเก็นเปย (Genpei War)

โถงทางเข้า (Reception Hall)
ที่ให้ความสงบแก่จิตใจ

โถงทางเข้าปัจจุบันได้รับการบูรณะในปี ค.ศ.1637 โดยท่านมาเอะดะ โทชิซึเนะ (เจ้าลำดับที่สามแห่งเมืองคะกะ)
หลังจากถูกทำลายอย่างหนักในระหว่างสงครามอันยาวนานตั้งแต่ ค.ศ.1573-1593 โถงทางเข้านี้เป็น
สถาปัตยกรรมแบบ บุเคะโชอินซุคุริ (Buke-shoin-zukuri) ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทำให้โดดเด่นจากอาคารแบบโช
อินซุคุริ (Shoin-zukuri) ทั่วไป เช่น ฝ้าเพดานที่ทำจากดินโคลน ในปี ค.ศ.1953 โถงแห่งนี้ถูกขึ้นทะเบียนเป็น
ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของญี่ปุ่น (หากสนใจเข้าชมต้องจ่ายค่าเข้าชมต่างหาก)

สวนที่จัดแสดงแก่นแท้
ความงามตามแบบญี่ปุ่น

สวนที่สามารถมองเห็นได้จากโถงทางเข้านั้นเป็นผลงานของ วาเคะเบะ โบคุไซ (Wakebe Bokusai) ผู้พิพากษา
ประจำภูมิภาคคะกะ ผู้ซึ่งรับผิดชอบในการรังสรรค์สวนแห่งนี้ ภายใต้คำแนะนำของ โคโบริ เอ็นชู (Kobori Enshu) ผู้
เชี่ยวชาญพิธีชงชาซึ่งประสบความความสำเร็จและมีทักษะรอบด้าน
สวนมีการจัดทางเดินด้วยหิน ประดับประดาด้วยหินสูงในจุดต่างๆ ต้นสนและต้นโอ๊คในสวนถูกปกคลุมด้วยหญ้า
มอสแสดงให้้เห็นถึงอายุที่ยืนยาวของต้นไม้ทั้งหลาย สวนแห่งนี้เป็นสวนที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดอิชิคาวะและถูก
บรรจุเป็นสถานที่ที่มีทัศนียภาพที่สวยงามโดยกระทรวงศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 2 เมษายน
ค.ศ.1929 (หากสนใจเข้าชมต้องจ่ายค่าเข้าชมต่างหาก)
ศาลาสำหรับพิธีชงชา เนียวเซะอัน (Nyozean) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสวน ถูกสร้างขึ้นโดย เซ็น โซชิซึ
(Sen Soshitsu) ผู้อำนวยการคนที่สี่แห่งโรงเรียนสอนชงชา อุระเซ็นเคะ (Urasenke) ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนชงชาสำหรับ
ท่านมาเอะดะ โทชิชึเนะ มีการเล่าขานต่อๆกันมาว่าท่านมาเอะดะมาที่ศาลาแห่งนี้เป็นประจำหลังเกษียณ

ความเรียบง่ายที่แฝงด้วยความงามตามธรรมชาติตลอดทั้งปี

ภูมิทัศน์อันงดงามภายในวัดนาทะเดะระมีการเปลี่ยนแปลงจากฤดูสู่ฤดู ภายในวัดจะเต็มไปด้วยดอกซากุระอัน
งดงามในฤดูใบไม้ผลิ ส่วนในฤดูร้อนแสงจันทร์จะสะท้อนพื้นน้ำในสวน คิกังยูเซ็นเคียว (Kigan-Yusenkyo) ใบไม้แดง
ในฤดูใบไม้ร่วงเป็นสีแดงสดงดงาม หิมะปกคลุมหนาและเงียบสงัดในฤดูหนาว ทำให้ผู้มาเยือนได้รู้สึกค้นพบสิ่ง
ใหม่ๆในทุกครั้งที่มายังวัดแห่งนี้
มีบางอย่างที่ลึกซึ้งแฝงอยู่ในความเงียบสงบและความงดงามของธรรมชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้แสดงถึงความงามของ
วาบิซาบิ (Wabi-sabi) ซึ่งเป็นความอ่อนโยน ความปราณีตตามแบบฉบับของญี่ปุ่น ขอให้ทุกท่านได้สูดหายใจลึกๆ
และรู้สึกถึงธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ณ วัดนาทะเดะระแห่งนี้